contact-button

ติดต่อเรา

ตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test) คืออะไร แตกต่างจากการตรวจที่โรงพยาบาลอย่างไร

What is Home Sleep Test? by ณพสิทธิ์ 22/4/22


ตรวจการนอนหลับที่บ้าน คืออะไร

สารบัญ

บทความอื่นที่เกี่ยวข้องกัน



การตรวจการนอนหลับที่บ้าน หรือ Home Sleep Test คืออะไร

การตรวจการนอนหลับที่บ้าน หรือ Home Sleep Test เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคจากการนอนหลับรูปแบบหนึ่งเพื่อตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะหลับ ที่ดำเนินการตรวจที่บ้าน แบ่งออกเป็นการตรวจได้หลายรูปแบบ

ผู้เข้ารับบริการจำนวนมากมักสับสนว่าการตรวจรูปแบบต่างๆ นั้นแตกต่างกันอย่างไร ใช้รักษาได้หรือไม่ และทำไมราคาจึงแตกต่างกัน ซึ่งในบทความนี้จะไขข้อสงสัยให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง

การตรวจการนอนที่บ้าน (Home Sleep Test) มีชนิดไหนบ้าง

1. การตรวจการนอนหลับที่บ้านแบบละเอียด หรือ Home Full Night Sleep Study (Type 2)

คือ การตรวจการนอนหลับที่บ้านแบบละเอียด หรือ Home Sleep Test Type 2 ซึ่งเป็นการตรวจที่มีความละเอียดเทียบเท่ากับการตรวจในโรงพยาบาลเพียงแต่ ไม่มีเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับเฝ้าดูแลตลอดคืน

ลักษณะของการตรวจแบบนี้มีส่วนประกอบและข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือได้ใกล้เคียงกับ การตรวจระดับ 1 หรือการตรวจแบบที่โรงพยาบาล และมีข้อดี เช่น ค่าใช้จ่ายในการตรวจที่ถูกกว่า เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มในเรื่องค่าห้องของโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายสำหรับเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับที่เฝ้าดูพฤติกรรมตลอดคืน และประหยัดเวลาในการเดินทางไปกลับ นอกจากนี้ยังใช้เวลาในการรอคิวตรวจน้อยกว่า


ภาพตัวอย่างการตรวจการนอนหลับที่บ้านแบบละเอียด (Home Full Night Sleep Study)

การตรวจการนอนหลับที่บ้านชนิดนี้เหมาะกับใคร

เหมาะกับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว เนื่องจากหากเป็นการตรวจที่โรงพยาบาลนั้นจะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดเวลาทำให้หลายคนนอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท ผู้ที่นอนต่างที่แล้วนอนหลับได้ยาก สามารถดูแลตนเองได้ ไม่มีภาวะพึ่งพิงหรือติดเตียง มีสติสามารถควบคุมตนเองได้ ไม่ใช่เด็กเล็กและไม่ใช่ผู้สูงอายุ

ผู้ที่ไม่เหมาะที่จะตรวจรูปแบบนี้คือ ผู้ที่มีปัญหาทางจิตไม่สามารถควบคุมสติได้ เด็กเล็กที่ต้องการการดูแลพิเศษ หรือผู้ที่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษเพื่อตรวจเพิ่มเติม หรือผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมผิดปกติขณะนอนหลับ (REM Sleep Bahavior Disorder)


ภาพบรรยากาศขณะเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับตรวจสัญญาณการนอนหลับ

2. การตรวจการนอนหลับที่บ้าน เพื่อดูภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือ Home Sleep Apnea Study (Type 3)

คือ การตรวจการนอนหลับที่บ้านแบบประหยัด และเฉพาะเจาะลงสำหรับโรคหยุดหายใจขณะหลับ หรือการตรวจการนอนหลับแบบคัดกรอง (Sleep Apnea Screening) เกณฑ์ในการตรวจคือตรวจวัดตัวแปรสำคัญ 4-7 ช่องสัญญาณ

การตรวจแบบนี้จะเน้นการตรวจระบบการหายใจ เช่น ลมหายใจเข้าออก (Airflow) ความพยายามในการหายใจจากการเคลื่อนที่ของหน้าอก (Respiratory Effort) ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation) อัตราการเต้นหัวใจ (Pulse Rate or Heart Rate) การกรน (Snoring) หรืออาจมีการตรวจวัดท่าทางการนอนหลับ (Body Position) กล่าวโดยรวม คือจะมีการตรวจวัดสัญญาณต่างๆ คล้ายกับการตรวจการนอนหลับในโรงพยาบาล แต่ไม่มีการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) กล้ามเนื้อลูกตา (EOG) และกล้ามเนื้อคาง (EMG) จึงไม่สามารถบอกได้ว่าผู้รับการตรวจอยู่ในระยะการนอนหลับหรือตื่น (Sleep Stage) โดยการตรวจนี้จะเน้นดูการหยุดหายใจ และความพยายามในการหายใจของผู้เข้ารับการตรวจเพื่อแยกแยะโรคเกี่ยวกับการนอนหลับบางประเภท

ผู้ที่เหมาะกับการตรวจแบบ Type 3 นี้ ได้แก่ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA)

หากคุณสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่สามารถตรวจเช็คได้จากการประเมิน STOPBANG questionaire และได้คะแนนมากกว่า 3 คะแนน สามารถกดได้ที่ปุ่ม แบบประเมิน STOPBANG (มุมบนขวา) หรือศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ บทความ STOP-BANG Questionaire แบบประเมินโรคหยุดหายใจขณะหลับ

การตรวจการนอนหลับแบบ Type 3 นี้มักได้รับการประเมินอัตราการหยุดหายใจและหายใจแผ่ว (AHI) ต่ำกว่าที่เป็นจริง เช่น หากตรวจวัดแบบละเอียดจะวัด AHI ได้ 25 ครั้งต่อชั่วโมง แต่หากตรวจแบบ Type 3 อาจจะได้ค่า AHI = 20 ครั้งต่อชั่วโมง ดังนั้นหากตรวจ Home Sleep Apnea Study (Type 3) และพบว่าได้ AHI น้อยก็อย่างเพิ่งนิ่งนอนใจ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้มาจากว่าการตรวจแบบ Type 3 เราไม่สามารถสัญญาณสมองที่เกิดความตื่นตัวได้ทำให้สังเกตได้เฉพาะขณะที่ออกซิเจนตก (Desaturation) มากกว่า 3% และมีภาวะหยุดหายใจหรือหายใจแผ่วร่วมด้วยเท่านั้น ดังนั้นอัตราการสกอร์ผลจึงมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าความเป็นจริง หรือที่เรียกว่า Underscored

ด้วยการที่ตรวจด้วยรูปแบบ Home Sleep Apnea Study (Type 3) นี้ก็มีโอกาสที่ผลตรวจจะคลาดเคลื่อนได้บ้าง ดังนั้นผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับแต่ผลการตรวจด้วยวิธีนี้ไม่พบความผิดปกติ หรือผู้ที่มีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคระบบประสาทกล้ามเนื้อ หรือผู้ที่สงสัยว่าจะมีโรคความผิดปกติจากการนอนหลับอื่นๆ เช่น โรคขากระตุกขณะหลับ โรคลมหลับ ควรได้รับการตรวจด้วยวิธีมาตรฐานในโรงพยาบาล Hospital Full Night Sleep Study หรือการตรวจที่บ้านระดับ Home Full Night Sleep Study (Type 2)


 home-sleep-test-type-3

การตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test) เหมือนหรือแตกต่างจากการตรวจในโรงพยาบาล (Hospital Sleep Test) อย่างไร

การตรวจการนอนหลับที่บ้านแบบละเอียดหรือ Home Full Night Sleep Study (Type2) มีข้อเหมือนและแตกต่างกับการตรวจในโรงพยาบาล หรือ Hospital Full Night Sleep Study ดังนี้

1. เป็นการตรวจในระดับความละเอียดที่เทียบเท่ากัน

การตรวจที่บ้านและที่โรงพยาบาล จะมีการวัดสัญญาณต่างๆ ที่จำเป็นและเป็นไปตามข้อกำหนดจาก American Academy of Sleep Medicine (AASM) เหมือนกัน เช่น การวัดสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลูกตา (EOG) การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อคาง (EMG) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ลมหายใจ การเคลื่อนไหวของทรวงอก เป็นต้น

2. ได้รับการวิเคราะห์โดยเจ้าหน้าที่เทคนิคนักตรวจการนอนหลับ (Sleep Technician) และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคการนอนหลับ (Sleep Specialist)

เมื่อตรวจการนอนเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่เทคนิค (Sleep Technician) ผู้ดำเนินการตรวจการนอน จะนำผลที่ได้จากการวัดมาอ่านวิเคราะห์และส่งผลต่อให้แพทย์โรคการนอนหลับ (Sleep Specialist) เพื่อทำข้อสังเกตและผลการวินิจฉัย เมื่อสรุปผลเรียบร้อยแล้ว รายงานการตรวจการนอนหรือ Sleep Study Report จะถูกส่งต่อกลับไปยังแพทย์เจ้าของไข้เพื่อนำไปกำหนดแผนการรักษาต่อไป

3. การตรวจที่บ้านมักจะใช้เครื่องมือแบบพกพา

ซึ่งเป็นเครื่องตรวจที่สามารถวัดสัญญาณได้เหมือนเครื่องขนาดใหญ่ในโรงพยาบาล เพียงแต่อาจมีเฉพาะช่องสัญญาณที่จำเป็น และเป็นไปตามข้อบังคับของ AASM เท่านั้น โดยจะมีขนาดเครื่องที่เล็กลง สามารถรัดติดกับตัวผู้ที่รับการตรวจได้ ทำให้สามารถเดิน หรือทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือได้สะดวก และในบางกรณีก็อาจจะมีการวัดหลายพารามิเตอร์ที่เทียบเท่าหรือมากกว่าการตรวจปกติในโรงพยาบาล ซึ่งสำหรับ ระบบตรวจที่พัฒนาโดย เบรน ไดนามิกส์ เทคโนโลยี ที่ให้บริการโดยศูนย์ชีวานิทราเวช นั้นเป็นแบบกรณีที่มีการติดตั้งอุปกรณ์เทียบเท่ากับและแม่นยำเหมือนการตรวจในโรงพยาบาล

4. การตรวจที่บ้านโดยทั่วไปจะไม่มีคนเฝ้า

ซึ่งแตกต่างกับการตรวจในห้องของโรงพยาบาลที่จะมีคนเฝ้าตลอดทั้งคืน ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการตรวจที่บ้านผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถจะมีคนไปเฝ้าในห้องนอนของผู้ป่วยได้ หรือขาดความสะดวกให้การปฏิบัติงานรวมถึงอาจจะรบกวนสมาชิดอื่นๆ ในบ้านของผู้ป่วยด้วย จุดประสงค์ที่ต้องมีคนเฝ้าก็คือเพื่อคอยดูแลไม่ให้อุปกรณ์ต่างๆ หลุดออกมาระหว่างการตรวจ แต่ทั้งนี้การตรวจที่บ้านจะใช้เครื่องขนาดพกพา ซึ่งรัดติดกับตัวผู้ป่วยอย่างแน่นหนา หากเจ้าหน้าที่มีความชำนาญและผ่านการฝึกมาเป็นอย่างดี อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ก็จะมีโอกาสหลุดได้ยากมาก


ข้อดี และข้อจำกัด ของการตรวจการนอนที่บ้าน (Home Sleep Test) คืออะไร

ข้อดี


ข้อจำกัด


โดยสรุป การตรวจการนอนที่บ้านมีข้อดีมากมาย แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างเช่นกัน การเลือกผู้ให้บริการตรวจการนอนที่บ้านควรปรึกษาผู้ให้บริการตรวจการนอนที่บ้านแต่ละเจ้าเสียก่อนว่ามีทางเลือกหรือข้อจำกัดเช่นไรบ้าง อย่างไรก็ตามการเลือกผู้ ให้บริการตรวจการนอนที่ได้มาตรฐานครอบคลุมการตรวจสำหรับโรคการนอนหลับและควบคุมโดยแพทย์เฉพาะด้านการนอนหลับที่เชื่อถือได้เป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องและแก้ปัญหาการนอนหลับของเราและคนที่เรารักได้จริงๆ

ในปัจจุบันการตรวจการนอนที่บ้านนั้นพัฒนาไปมาก ราวกับยกห้องปฏิบัติการตรวจการนอนหลับไปที่บ้านเลยทีเดียว สามารถตรวจได้ครอบคลุมเกือบทุกโรคจากการหลับ นอกจากนี้ในบางผู้ให้บริการ เช่น เบรน ไดนามิกส์ และศูนย์ชีวานิทราเวชเอง ยังมีการให้บริการตรวจการนอนที่บ้านแบบชนิดที่ใกล้เคียงกับการตรวจที่โรงพยาบาลมากขึ้น เช่น การให้บริการเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนแบบเฝ้าที่บ้าน การพบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) การทดลอง CPAP ที่บ้าน และอื่นๆ ซึ่งให้ผลการตรวจและรักษาไม่แตกต่างจากการรับบริการที่โรงพยาบาล อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการให้ได้รับความสะดวกสบายและได้รับผลการตรวจการนอนใกล้เคียงกับความเป็นอยู่จริงมากที่สุด

Home Sleep Test

ค่าใช้จ่ายในการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

ตรวจการนอนหลับในโรงพยาบาลรัฐบาล

ในปัจจุบัน โรงพยาบาลรัฐบาลขนาดใหญ่ หรือโรงเรียนแพทย์ เช่น โรงพยาบาลในสังกัดของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มักมีห้องตรวจสุขภาพการนอนมาตรฐานระดับ 1 ซึ่งสามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิที่มีอยู่ เช่น เบิกจ่ายจากกรมบัญชีกลางสำหรับข้าราชการ หรือสิทธิประกันสุขภาพที่มีใบส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัด หรือสิทธิอื่นๆ โดยผู้รับการตรวจควรสอบถามรายละเอียดและขั้นตอนหรือเอกสารที่จำเป็นก่อนการนัดตรวจ

ตรวจการนอนหลับในโรงพยาบาลเอกชน

โรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการตรวจการนอนหลับหรือ Sleep Test ที่คุณภาพสูงหลายแห่งสามารถให้บริการรูปแบบการตรวจที่ไม่แตกต่างจากโรงเรียนแพทย์ และหลายคร้ังมีการให้บริการที่หลากหลายมากกว่า ในศูนย์ตรวจการนอนหลับของโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งอาจจะไม่มีบริการครบทุกชนิดการตรวจซึ่งแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับที่ดูแลเรื่องการตรวจการนอนหลับในโรงพยาบาลนั้นๆจะประเมินว่าคนไข้มีความเสี่ยงอะไร และทางโรงพยาบาลนั้นๆ มีความสามารถที่จะตรวจวินิจฉัยได้หรือไม่ จากนั้นจึงแนะนำชนิดการตรวจที่เหมาะสม

ตรวจการนอนหลับกับคลินิก หรือ ศูนย์ตรวจการนอนหลับเอกชน

บริการตรวจการนอนหลับที่บ้าน หรือโรงแรม โดยผู้ให้บริการตรวจการนอนหลับอื่นๆ เช่น คลินิก หรือศูนย์ตรวจการนอนหลับ



คำถามการนอนหลับที่บ้าน

ถามตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจการนอนหลับที่บ้าน

1. ตรวจการนอนหลับที่บ้านแตกต่างจากการตรวจที่โรงพยาบาลอย่างไร

ตอบ: การตรวจทั้งสองแบบนั้นมีทั้งความเหมือนและความต่าง

ความเหมือน: หากเลือกเป็นการตรวจแบบละเอียดเหมือนกันได้ผลเทียบเท่ากัน กล่าวคือ Hospital Full Night Sleep Study vs Home Full Night Sleep Study
ความแตกต่าง: การตรวจที่บ้านจะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้า สำหรับการตรวจที่โรงพยาบาลจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับเฝ้าดูพฤติกรรมการนอนตลอดคืน ยกเว้นการตรวจแบบที่มีการใช้ CPAP ร่วมด้วยคือ


2. ปกติมีคนนอนด้วยกัน สามารถตรวจการนอนหลับได้หรือไม่

ตอบ: ในคืนที่ทำการตรวจการนอนหลับ แนะนำให้นอนคนเดียวจะดีกว่าครับ เพื่อให้ได้ผลที่เที่ยงตรงสำหรับการตรวจการนอน แต่หากมีความจำเป็นการที่มีคนเฝ้าก็สามารถทำได้


3. ต้องพบแพทย์ก่อนตรวจหรือไม่

ตอบ: แบ่งได้เป็นสองกรณีที่พบแพทย์ก่อน หรือไม่พบแพทย์ก่อน ทั้งสองกรณีนั้นสามารถทำได้ โดยส่วนที่สำคัญที่สุดคือการพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการนอนหลับ หลังได้รับผลการตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Study Report แล้ว

กรณีที่ 1 การพบแพทย์ในสาขาใดๆ ก่อนตรวจจะเป็นการประเมินเพื่อนำไปสู่ข้อสงสัยว่าอาจจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจากการนอนหลับ ควรตรวจการนอนหลับโดยปกติหากผู้ป่วยที่มาจากโรงพยาบาล หรือ คลีนิคเฉพาะทางจะพบแพทย์มาก่อนแล้ว
กรณีที่ 2 คือการที่ผู้เข้ารับการตรวจสงสัยว่าตนเองนั้นอาจจะมีโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ อาจปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ หรือคัดกรองจากแบบประเมินมาตรฐานด้านคุณภาพการนอนหลับ แล้วมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจากการนอนหลับสามารถเข้าตรวจการนอนหลับได้ก่อน จากนั้นจึงนำผลไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ


4. สำหรับการตรวจการนอนหลับ ผู้เข้ารับการตรวจต้องนอนกี่ชั่วโมงถึงจะได้ผลการตรวจการนอนหลับที่เพียงพอ

ตอบ: ต้องนอนหลับ (สัญญาณสมองแสดงว่าหลับ) อย่างน้อย 4 ชั่วโมงขึ้นไป หากนอนหลับได้มากกว่า 6 ชั่วโมงถือว่าดีเยี่ยม


5. ถ้านอนไม่หลับในคืนที่ตรวจการนอนหลับที่บ้าน จะตรวจได้หรือไม่

ตอบ: ต้องนอนหลับ (สัญญาณสมองแสดงว่าหลับ) อย่างน้อย 4 ชั่วโมง หากนอนหลับได้มากกว่า 6 ชั่วโมงถือว่าดีเยี่ยม หากมีกรณีที่นอนไม่หลับจริงๆ อาจต้องทำการตรวจใหม่ เพื่อให้นำไปสู่การวินิจฉัยโรคการนอนที่ถูกต้อง ดังนั้นหากมีแผนการจะตรวจการนอนหลับให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่เพื่อขอคำแนะนำขั้นตอนการเตรียมตัวที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถนอนหลับได้ หรือในบางกรณีที่นอนหลับยากแพทย์จะสั่งยานอนหลับเฉพาะที่ใช้กับการตรวจการนอนหลับไว้ให้เพื่อช่วยในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจการนอนนอนไม่หลับจริงๆ


6. ผลการตรวจการนอนหลับจะได้รับหลังจากตรวจกี่วัน

ตอบ: หลังตรวจการนอนหลับ ตามปกติแต่ละศูนย์ตรวจมักจะมีระยะเวลาการรอฟังผลที่แตกต่างกัน สำหรับศูนย์ชีวานิทราเวช โดย BDSleep จะได้รับผลการตรวจการนอนหลับภายใน เจ็ดวัน หลังตรวจการนอนหลับ


7. ทำไมต้องตรวจการนอนหลับ คนไข้สามารถซื้อ CPAP มาใช้เลยได้มั้ย

ตอบ: โรคการนอนมีหลากหลากชนิด และปัญหาที่เราพบเจอนั้นอาจจะแตกต่างจากคนอื่นๆ การวินิจฉัยอย่างถูกต้องจะนำไปสู่การรักษาที่ถูกวิธี การใช้ CPAP เป็นหนึ่งในวิธีการรักษามาตรฐานซึ่งอาจใช้ไม่ได้กับทุกคน และไม่สามารถใช้รักษาได้ทุกโรคการนอนหลับ มีคนไข้จำนวนมากที่สงสัยว่าตนมีปัญหาการนอนหลับและมุ่งหน้าหาซื้อ CPAP ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผิด


8. เวลาตรวจการนอนจะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าหรือไม่

ตอบ: หากเป็นการตรวจการนอนแบบละเอียดที่บ้านหรือ Home Sleep Test Type 2 หรือ Home Full Night Sleep Study นั้นจะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้า คนส่วนใหญ่สามารถตรวจการนอนหลับที่บ้านได้ เว้นแต่หากมีข้อบ่งชี้พิเศษ เช่น เป็นโรคอัลไซเมอร์ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือดิ้นมาก อาจจะพิจารณาให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจการคอยเฝ้าในคืนที่ตรวจ แนะนำให้เลือกตรวจเป็นที่ศูนย์ตรวจการนอนหลับจะสะดวกในการดูแลมากกว่า


9. ถ้าตรวจการนอนหลับเสร็จแล้วจะรักษาอย่างไร

ตอบ: การรักษาทำได้หลายวิธีตามแต่โรคหรือปัญหาของผู้ป่วย เช่น หากเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งแพทย์แนะนำให้ใช้ CPAP ทางจะมีเจ้าหน้าที่นำเครื่อง CPAP ไปให้ทดลองการรักษาที่บ้านผู้ป่วย หรือเรียกว่า Home CPAP Tritration หรือกรณีอื่นเช่น เป็นโรคนอนไม่หลับ แพทย์อาจพิจารณาให้เข้าทำกิจกรรมบำบัด หรือ CBT ซึ่งสามารถจะนัดพบกับนักจิตวิทยาได้ทั้งที่โรงพยาบาล หรือจะเป็นการพบออนไลน์ก็ได้ ดังนั้นโดยสรุปการรักษาจะดำเนินการหลังจากได้รับการวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับการนอนหลับแล้ว และอาจจะมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามปัญหาแต่ละคน


สรุป การตรวจการนอนหลับที่บ้าน มีหลายชนิดและสามารถเลือกตรวจได้เพื่อวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติจากการนอน ในปัจจุบันการตรวจการนอนหลับที่บ้านนั้นมีความแม่นยำและมีคุณภาพเทียบเท่าการตรวจที่โรงพยาบาล

Home Sleep Test

ปรึกษาปัญหาโรคจากการหลับ ต้องการตรวจการนอนหลับศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริการของเรา

ประเมินความเสี่ยงโรคหยุดหายใจขณะหลับ