นอนกรนเกิดจากอะไร เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) หรือไม่
What is snore? How can Snore induce risk of obstructive sleep apnea? by ณพสิทธิ์ 21/4/22
สารบัญ
- นอนกรนเกิดจากอะไร เสียงกรนมาจากไหน
- สาเหตุทางกายวิภาคการนอนกรน ที่ทำให้เกิดเสียงกรน
- ปัจจัยอื่นที่ให้เกิดการนอนกรน หรือมีโอกาสนอนกรนมากขึ้น
- ประเภทของการนอนกรน แบบไหนอันตราย แบบไหนไม่อันตราย
- คำถามเพื่อแยกประเภทของการนอนกรนนี้
- การตรวจวินิจฉัยการนอนกรน ทำอย่างไร
- การรักษาการนอนกรน มีวิธีไหนบ้าง
- วัดการกรนได้ด้วยวิธีอะไรบ้าง
- ตัวอย่างภาพสัญญาณการกรนจากการตรวจการนอน
- ถามตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการนอนกรน
บทความอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
นอนกรนเกิดจากอะไร เสียงกรนนั้นมาจากไหน
เสียงกรนนั้นเกิดจากการกรนอันเกิดขึ้นเมื่อเวลานอนหลับกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจหรือ Airway หย่อนคล้อยลงและถูกอุดกั้นบางส่วนหรือตีบแคบกว่าปกติทำให้ลมที่ไหลผ่านปากและจมูกไม่สามารถไหลได้สะดวก โดยอวัยวะบริเวณนี้คือส่วนของทางเดินหายใจที่สามารถเปิดปิดได้ เป็นส่วนที่บรรจบกันของลิ้น คอส่วนบน เพดานอ่อน และลิ้นไก่ โดยเสียงกรนเกิดขึ้นจากการสั่นกระพือของโครงสร้างส่วนนี้ระหว่างการหายใจ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าทางเดินหายใจของคุณตีบแคบกว่าปกติขณะนอนหลับทำให้เกิดการนอนกรน
มีประชากรผู้ใหญ่ประมาณ 20-40% ที่นอนกรนเป็นปกติขณะหลับ และประมาณหนึ่งในสี่ของประชากรที่นอนกรนเป็นบางครั้งคราว เช่น เมื่อเหนื่อยมากกว่าปกติ อย่างไรก็ตามเสียงกรนอาจจะชี้ให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ก็เป็นได้ อาทิ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)
Snore Anatomy
Source: https://www.sleepscouts.com/how-to-stop-snoring/
เนื่องจากเสียงกรนเกิดจากการสั่นสะเทือน เราจึงสามารถวัดความถี่ของการกรนเป็นคลื่นได้ ซึ่งเมื่อวัดเสียงกรนออกมาจะได้ว่ามีความถี่ของสัญญาณอยู่ที่ประมาณน้อยกว่า 500 Hz การกรนนั้นโดยทั่วไปจะเป็นสัญญาณลักษณะคล้ายกระสวยออกมาเป็นลูกๆ ประมาณ 0.5 - 2 วินาที ดังภาพประกอบ c) และ เมื่อพิจารณาความถี่ของสัญญาณที่วัดได้ออกมาตามพลังงานในคลื่นความถี่ต่างๆ จะได้ดังภาพ d)
Snore Signal and Snore Power Spectrum
Source: Fiz, José Antonio & Abad, Jerard & Jané, Raimon & Riera, Melanie & Mananas, Miguel Angel & Caminal, Pere & Rodenstein, D & Morera-Prat, Josep. (1996). Acoustic analysis of snoring sound in patients with simple snoring and obstructive sleep apnea. The European respiratory journal : official journal of the European Society for Clinical Respiratory Physiology. 9. 2365-70.
สาเหตุทางกายวิภาคการนอนกรน ที่ทำให้เกิดเสียงกรน
วิดีโอแสดงโครงสร้างเมื่อเกิดการกรน และการหยุดหายใจ
ปัจจัยต่างๆ ที่ให้เกิดการนอนกรน
ประเภทของการนอนกรน แบบไหนอันตรายและไม่อันตราย?
การนอนกรน แบบธรรมดา
การนอนกรนที่มี ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
คำถามเพื่อแยกประเภทของการนอนกรน ว่ามีภาวะหยุดหยุดหายใจร่วมด้วยหรือไม่
การสังเกตและวิเคราะห์การนอนกรนสามารถให้คำตอบได้หลายอย่างเกี่ยวกับสุขภาพของคุณ อาทิ หากเสียงกรนมาจากจมูกอาจจะพิจาณาได้ว่าเกิดจากการสั่นของเยื่อด้านหลังโพรงจมูก หากการนอนกรนเกิดขึ้นบางท่าทางการนอน อาจจะชี้ให้เห็นทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหาที่มากขึ้นเช่นการฝึกนอนตะแคง แต่หากเกิดเสียงกรนในทุกท่าทางและส่วนที่สำคัญคือหากกรนเสียงดัง เสียงกรนไม่สม่ำเสมอ มีเสียงดังเบาสลับกัน และมีการสะดุ้งเฮือกเพื่อหายใจ หรือสำลักบ่อยๆ หากชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
หากคุณต้องการวิเคราะห์ปัญหาการนอนกรนทางเลือกแรก คือ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหูคอจมูก เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างระบบทางเดินหายใจส่วน คอ จมูก โพรงจมูก ปาก เพดานอ่อน ลิ้นไก่ ลิ้น และยังสังเกตอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเช่น ภูมิแพ้ ผนักโพรงจมูกคดผิดรูป หรือ ต่อมทอลซิลโต และอื่นๆ
หรือสามารถที่จะเลือกการ ตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test) เพื่อตรวจหาสาเหตุปัญหาการนอนและภาวะการหยุดหายใจ ซึ่งควบคุมโดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับหรือ Sleep Specialist ซึ่งจะตรวจดูโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับทั้งหมด อาทิ โรคนอนกรน โรคหยุดหายใจขณะหลับ โรคนอนไม่หลับ โรคนอนละเมอ โรคขากระตุกขณะหลับ เป็นต้น
การตรวจวินิจฉัยนอนกรน ทำอย่างไร
ผู้ที่นอนร่วมกับคุณ หรือคนในครอบครัว อาจเป็นผู้ที่บอกว่าได้ว่าคุณนอนกรนหรือไม่ ซึ่งหมอผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการรักษาโรคการนอนกรน จะสอบถามทั้งคุณและผู้ที่นอนร่วมกับคุณถึงอาการนอนกรน
หมอจะสอบถามเกี่ยวกับประวัติการใช้ยา การรักษา รวมถึงตรวจร่างกายของคุณเพื่อศึกษาสิ่งที่อาจเป็นตัวอุดกั้นการหายใจของคุณอาทิเช่น การดูรูจมูก การดูลิ้น ต่อมทอลซิล หรือ ช่วงคอของคุณ รวมถึงให้คุณเข้ารับการตรวจเพิ่มเติม
1. การตรวจการนอนหลับ หรือ Polysomnography หรือ Sleep Test เป็นกระบวนการเพื่อศึกษาปัญหาจากการวัดค่าจากร่างกายชนิดต่างๆ ระหว่างการนอนหลับ แพทย์อาจให้ท่านตรวจการนอนหลับที่บ้าน หรือ เข้ามารับการตรวจที่ห้องตรวจการนอนหลับที่โรงพยาบาล โดยการตรวจนี้จะวัดค่าต่างๆ อาทิ คลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ สัญญาณการกรน สัญญาณการหายใจ และอื่นๆ
2. การถ่ายภาพทางการแพทย์ อาทิเช่น X-Ray , MRI หรือ CT Scan เพื่อศึกษาปัญหาระบบการหายใจ
การรักษานอนกรน มีวิธีไหนบ้าง
1. แก้ปัญหานอนกรนด้วยตนเอง
นี้เป็นขั้นแรกที่คุณต้องทำหากคุณนอนกรนและต้องการรักษาการนอนกรน มีหลากหลายวิธีนะครับ โดยเราเขียนไว้ในบทความ แก้ปัญหานอนกรนด้วยตนเอง ให้คุณแต่หากทำตามแล้วยังไม่หายคุณต้องลองการรักษานอนกรนในขั้นต่อไป
กดดูบทความ แก้ปัญหานอนกรนด้วยตนเอง ที่นี้
2. การผ่าตัด
การผ่าตัดมีหลายรูปแบบที่ใช้สำหรับการรักษาการนอนกรน ของทางเดินหายใจ เช่น ผ่าตัดที่ช่วงโพรงจมูก ผ่าตัดที่บริเวณโคนลิ้น ผ่าตัดเพดานอ่อน และอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะศึกษาปัญหาการนอนกรนของคุณและเสนอแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อแก้ปัญหานอนกรนของคุณ โดยแพทย์จะชี้แจงให้เห็นถึงความเสี่ยงของการทำการผ่าตัด
3. การใช้เครื่องมือทันตกรรม
มีอุปกรณ์ทันตกรรมสำหรับช่วยในขยายทางเดินหายใจ โดยจะเป็นคล้ายๆ ที่ครอบฟันซึ่งจะช่วยคุณดึงขากรรไกรล่างขึ้นมาด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อทำให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้น
4. การใช้เครื่อง CPAP หรือ เครื่องอัดอากาศประเภทอื่นๆ
การใช้เครื่องอัดแรงดันบวกหรือเครื่อง CPAP เป็นทางเลือกที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน สำหรับการรักษาการนอนกรน โดยสามารถช่วยลดอัตราการหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) ลดอัตราการหายใจแผ่ว (Hypopnea) โดยการเป่าลมเข้าไปทางรูจมูกเพื่อเปิดทางเดินหายใจ โดยการหายใจของเราจะวิ่งอยู่บนความดันลมที่สูงขึ้นเล็กน้อยและทางเดินหายใจก็จะเปิดไม่ถูกอุดกั้น การใช้เครื่อง CPAP นี้สามารถช่วยแก้ปัญหาการนอนกรนได้แต่การซื้อเครื่อง CPAP มาทดลองใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องใช้ร่วมกับการวินิจฉัยและการปรึกษาให้คำแนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การนำมาใช้เองโดยไม่มีความเข้าใจ อาจเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ หรือ กระทั่งทำให้สถานการณ์แย่ลง รวมทั้งทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้
5. แบบผสมผสาน
สำหรับคนไข้ที่มีภาวะนอนกรนจนถึงเป็นภาวะหยุดหายใจจากการอุดกั้นแบบรุนแรงอาจต้องใช้หลายวิธีการร่วมกัน เช่น การผ่าตัดร่วมกับ CPAP หรือ การใช้เครื่องมือทันตกรรมร่วมกับ CPAP เป็นต้น
วัดการกรนได้ด้วยวิธีอะไรบ้าง
การกรนนั้นเกิดจากการที่อวัยวะส่วนที่บรรจบกันของลิ้น คอส่วนบน เพดานอ่อน และลิ้นไก่ เกิดการสั่นกระพือระหว่างการหายใจ วิธีในการวัดการกรนนั้นสามารถทำได้หลายวิธีซึ่งหลักการคือการจัดการสั่นสะเทือนของอวัยวะส่วนนี้ หรือการวัดการสั่นสะเทือนของอากาศที่ทำให้เกิดเสียงกรน
ตัวอย่างภาพสัญญาณการกรนจากการตรวจการนอน
ภาพด้านล่างนี้คือตัวอย่างสัญญาณการตรวจการนอนหลับ ซึ่งมีเส้นสีส้มของกราฟ SNORE คือสัญญาณการกรนของผู้เข้ารับการตรวจ FLOW TH คือ สัญญาณความร้อนจากการหายใจทางจมูกและปาก และ P FLOW คือ สัญญาณแรงดันลมหายใจจากจมูก
ภาพแรกจะเป็น Ecoph 30 วินาที จะเห็นว่าสัญญาณการกรนนั้นจะมาเป็นระยะๆ สลับกับไม่กรน แต่ละครั้งจะเกิดขึ้นสอดคล้องกับสัญญาณการหายใจ แต่ละครั้งการกรนจะเป็นช่วงสั้นๆ ประมาณ 1-2 วินาที
ภาพที่สองนี้เราจะเห็นสัญญาณการกรนอีกรูปแบบหนึ่ง กล่าวคือเราจะเห็นสัญญาณกรนที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ที่วิ่งอยู่บนการสั่นสะเทือนของลำคอที่ลากยาว ซึ่งเราจะเห็นว่าการกรนมีความสัมพันธ์กับการหายใจ
ภาพที่สามนี้เราจะเห็นสัญญาณการกรนที่เกิดขึ้นในช่วงสัญญาณ Epoch 30 วินาที x 4 ช่วง รวม 120 วินาที จะเห็นว่าผู้เข้ารับการตรวจมีการกรนต่อเนื่อง มีสัญญาณการกรนเป็นกระเปาะสลับกับการหยุดกรนเป็นระยะๆ
การนอนกรนเกี่ยวข้องกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างไร
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดขึ้นเมื่อทางเดินหายใจถูกอุดกั้นไม่มีอากาศไหลผ่านเป็นเวลามากกว่า 10 วินาทีขึ้นไป ซึ่งแบ่งได้เป็นสามแบบคือ แบบที่หนึ่ง Obstructive Apnea หรือการหยุดหายใจจากการอุดกั้น แต่มีความพยายามในการหายใจจากการกระเพื่อมของหน้าอกและท้อง แบบที่สอง Central Apnea หรือการหยุดหายใจและไม่มีความพยายามในการหายใจโดยหน้าอกและท้องไม่กระเพื่อมซึ่งจะพบได้เมื่อมีความผิดปกติของระบบประสาทร่วมด้วย และแบบที่สาม Mixed Apnea แบบผสมคือมีทั้งแบบที่หนึ่งและสองอยู่ในการหยุดหายใจหนึ่งครั้ง
โดยผู้ใหญ่ที่กรนส่วนใหญ่มักมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย ขณะที่การนอนกรนในเด็กอาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาเกี่ยวข้องกับต่อมทอลซิลและต่อมอดีนอยด์ โดยทางเราได้มีบทความเกี่ยวกับโรคหยุดหายใจขณะหลับ หรือ Sleep Apnea อย่างละเอียดที่ควรรู้ไว้ที่บทความในลิ้งด้านล่างนี้ครับ
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea) ภาวะนี้คืออะไร อันตรายแค่ไหน รักษาอย่างไร
ถามตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการนอนกรน
ตอบ: นอนกรนกินยารักษาไม่หายครับ ปัจจุบันไม่มียาสำหรับทานเพื่อรักษาการนอนกรน เนื่องจากการนอนกรนเป็นปัญหาทางกายภาพที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยา แต่ในบางครั้งอาจมีการให้ยาเพื่อช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น เช่น ยาลดอาการภูมิแพ้ ซึ่งก็เป็นการแก้ไขตามอาการ ไม่ใช้การรักษาเพื่อให้หายจากการกรนจริงๆ โดยการรักษาการนอนกรนมีรายละเอียดดังนี้ครับ การรักษาการนอนกรน มีวิธีไหนบ้าง
2. นอนไม่ใช้หมอน แก้นอนกรนหรือไม่
ตอบ: นอนไม่ใช้หมอนแก้นอนกรนไม่ได้ครับ
3. นอนตะแคงอย่างเดียว ทำให้หยุดนอนกรนได้หรือไม่
ตอบ: นอนตะแคงสามารถช่วยลดความรุนแรงจากการนอนกรนได้ เนื่องจากการนอนตะแคงจะช่วยให้ทางเดินหายใจถูกอุดกั้นน้อยลง แต่ว่าไม่ใช่ว่าทุกคนนอนตะแคงและจะหายกรนนะครับ คุณสามารถลองดูเทคนิคต่างๆ สำหรับลดกรนได้ตามบทความนี้ครับ แก้ปัญหานอนกรนด้วยตนเอง
4. สามีเป็นคนผอมแต่มีอาการนอนกรน เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่
ตอบ: ไม่ใช่เฉพาะคนที่น้ำหนักมาก หรือ อ้วนเท่าที่นอนกรนได้ คนผอมก็สามารถนอนกรนได้ เนื่องจากการนอนกรนเป็นปัญหาจากสรีระช่วงบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนซึ่งหมายความว่าคนอ้วนมีโอกาสเป็นมากกว่าแต่คนผอมก็เป็นได้เช่นกัน หากช่วงคอหรือทางเดินหายใจถูกทำให้แคบลง หากถามว่าอันตรายหรือไม่ ต้องดูชนิดของการกรนว่าการกรนเป็นแบบไหน หรือ หากมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น นอนแล้วตื่นมาปวดศีรษะ ง่วงตลอดวัน อ่อนเพลีย แนะนำให้เข้าพบแพทย์ เพื่อปรึกษาเรื่องการนอนกรนครับ
5. นอนกรนรุนแรงแค่ไหนถึงควรพบแพทย์
ตอบ: เมื่อมีอาการนอนกรนชนิดอันตราย หรือสงสัยว่าตนเองมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถสังเกตได้จากอาการต่างๆ ดังนี้
- นอนกรนเสียงดังมาก
- รู้สึกหายใจไม่สะดวกเวลานอน
- สังเกตเห็นการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ระหว่างการนอนหลับ
- มีการอาการสำลักระหว่างนอน
- มีอาการสะดุ้งเฮือก หรือ หอบเพื่อหายใจระหว่างการนอนหลับ
- เมื่อตื่นพบว่าปากแห้ง คอแห้ง
- ปวดศีรษะ หรือ มึนศีรษะเวลาตื่นนอน
- มีบางครั้งสะดุ้งตื่นเพราะเสียงกรนของตนเอง
- ไม่มีสมาธิระหว่างวัน
- อารมณ์ไม่คงที่ หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย หรือบางครั้งมีอาการซึมเศร้า
- ง่วงนอน อ่อนเพลียตลอดวัน
- ความดันโลหิตสูง
- ความต้องการทางเพศลดลง
6. นอนกรนหนักมาก มีโอกาสใหลตายหรือไม่
ตอบ: การนอนกรนมีความเกี่ยวข้องกับโรคใหลตาย หรือ หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ค่อนข้างมาก เนื่องจากการนอนกรน ทำให้หายใจได้ไม่สะดวกและในหลายครั้งมีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักกว่าปกติ พบว่าคนที่มีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับมีโอกาสเป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกมากกว่าคนปกติหลายเท่า โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอาการนอนกรนมากๆ ควรตรวจเพื่อรักษาหยุดหายใจขณะหลับเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
7. การนอนกรนสามารถ รักษาให้หายขาดได้หรือไม่
ตอบ: การนอนกรนสามารถรักษาได้ และผู้ที่รักษาการนอนกรนไม่เพียงสามารถลดเสียงรบกวนของคนรอบข้าง ยังสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้อีกมากมายอาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดัน เป็นต้น
8. คำถามจากทางบ้าน : คุณปู่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และนอนกรนด้วย หากรักษานอนกรน หัวใจจะกลับมาเต้นปกติหรือไม่ อาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจะหายไปหรือไม่
ตอบ: โรคหัวใจ และ การนอนกรนเป็นคนละเรื่องกัน แม้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกันการรักษานั้นทำแยกจากกัน แต่การรักษานอนกรนนั้นไม่ได้ช่วยรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่กระนั้นก็ควรรักษาอาการนอนกรนเป็นอย่างยิ่งเพราะว่าการนอนกรนนั้นอาจนำไปสู่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งอาจทำให้อาการของโรคหัวใจแย่ลง
สรุปการนอนกรนเป็นหนึ่งในสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ควรสังเกตชนิดการนอนกรนของตัวเองและคนที่คุณรัก เพื่อป้องกันก่อนที่จะเกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงอื่นๆ จะตามมา
ปรึกษาปัญหาโรคจากการหลับ ต้องการตรวจการนอนหลับศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริการของเรา
Reference
- https://www.enthealth.org
- https://www.sleepscouts.com/how-to-stop-snoring/
- https://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-apnea/snoring
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/snoring/symptoms-causes/syc-20377694
- Fiz, José Antonio & Abad, Jerard & Jané, Raimon & Riera, Melanie & Mananas, Miguel Angel & Caminal, Pere & Rodenstein, D & Morera-Prat, Josep. (1996). Acoustic analysis of snoring sound in patients with simple snoring and obstructive sleep apnea. The European respiratory journal : official journal of the European Society for Clinical Respiratory Physiology. 9. 2365-70.